6 กุมภาพันธ์ 2025
สัญญาที่สร้างภาระ – ต้นทุนการทำให้เสร็จสิ้นตามสัญญา (TAS 37)
TAS 37.68 ระบุเกี่ยวกับสัญญาสร้างภาระไว้แบบนี้:
“สัญญาที่สร้างภาระ คือสัญญาที่ก่อให้เกิดต้นทุนที่ไม่อาจหลีกเสี่ยงได้จากการปฏิบัติตามภาระผูกพันที่ระบุไว้ภายใต้สัญญา ซึ่งต้นทุนดังกล่าวมีจำนวนสูงกว่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่คาดว่าจะได้รับจากสัญญานั้นต้นทุนที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ภายใต้สัญญา คือ ต้นทุนสุทธิที่ต่ำที่สุดเพื่อให้สัญญาสิ้นสุดลง ซึ่งหมายถึงต้นทุนที่ต้องจ่ายเพื่อปฏิบัติตามสัญญาหรือต้นทุนค่าชดเชยหรือเงินชดเชยหรือค่าปรับที่ต้องจ่ายเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญาแล้วแต่ว่าต้นทุนใดจะต่ำกว่า”
หรืออธิบายง่ายๆ ว่า คือ สัญญาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ทำให้กิจการต้องจ่าย > ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ได้แก่ สัญญา take or pay ซื้อวัตถุดิบหรือโภคภัณฑ์ระยะยาว ที่ไม่ว่าจะรับของหรือไม่รับก็ต้องจ่ายเงินตามสัญญา สมมติถ้าเราต้องจ่ายเงิน 10 ล้านบาท แต่ได้ประโยชน์จากสินค้าเหล่านั้นเพียง 4 ล้านบาท ก็จะถือว่ามีภาระผูกพันจากสัญญาสร้างภาระ 6 ล้านบาท
ทีนี้คำจำกัดความเกี่ยวกับ “ต้นทุนที่ต้องจ่ายเพื่อปฏิบัติตามสัญญา” มันยังไม่ค่อยชัด ในเดือน May 2020 IASB จึงเปลี่ยนแปลง IAS37 โดยเพิ่มย่อหน้า 68a ซึ่งมันก็กลายเป็น TAS37.68ก ตามนี้
ต้นทุนที่ต้องจ่ายเพื่อปฏิบัติตามสัญญาประกอบด้วยต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสัญญา. โดยประกอบด้วย: (1) ต้นทุนส่วนเพิ่มที่ทำให้บรรลุสัญญานั้น ได้แก่ ค่าแรงทางตรง และวัตถุดิบ และ (2) ต้นทุนปันส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงเพื่อให้บรรลุสัญญา— ตัวอย่างเช่น ค่าเสื่อมราคา PPE ปันส่วน)
ซึ่ง กิจการต้องประเมินต้นทุนหรือรายจ่ายที่ต้องจ่ายเพื่อให้บรรลุเงื่อนไขของสัญญาที่ทำเอาไว้ มาเทียบกับประโยชน์ที่ได้ ถ้ารายจ่าย (อันประกอบด้วย รายจ่ายทางตรง + รายจ่ายปันส่วนที่เกี่ยวข้อง) มากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ กิจการต้องรับรู้หนี้สินจากสัญญาสร้างภาระครับ ตามตัวอย่างของ kpmg ตามโพสต์นี้